🌀 "ภัยแล้งถล่มตลาดน้ำตาลโลก" : ความหวัง–วามเสี่ยงของชาวไร่อ้อยไทย
แนวโน้มปี 2568 ตลาดน้ำตาลโลกเผชิญความตึงตัวครั้งใหญ่ หลังภัยแล้งในบราซิลซัดผลผลิตอ้อยหายหนักสุดในรอบ 6 ปี – ราคาพุ่งไม่แรงอย่างที่หวัง
ภัยแล้งกำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันอุตสาหกรรมน้ำตาลทั่วโลก โดยเฉพาะในบราซิล ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลก ล่าสุดโบรกเกอร์ระดับโลกอย่าง Czarnikow Group Ltd.
และ Sucres et Denrees SA ต่างประเมินตรงกันว่า ผลผลิตอ้อยในปี 2568
จะต่ำสุดในรอบ 6 ปี โดยเฉพาะไตรมาสแรกของปี ผลผลิตน้ำตาลอาจเกิดภาวะ “ตึงตัว” อย่างชัดเจน
🇧🇷 บราซิลซบเซา สต๊อกน้ำตาลดิบเหลือไม่ถึง 1 ล้านตัน
ข้อมูลจาก Unica หน่วยงานอ้อยและน้ำตาลของบราซิล เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำตาลดิบเมื่อ 1 เม.ย. 2567 เหลือเพียง 900,000 ตัน จากเดิมกว่า 4.3 ล้านตัน สะท้อนถึงสถานการณ์ภัยแล้งและไฟไหม้ที่ส่งผลกระทบ
ต่อผลผลิตอ้อยและการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตที่ล่าช้า
แม้ราคาน้ำตาลตลาดโลกยังอยู่ที่ 21–22 เซนต์/ปอนด์ ซึ่งถือว่ายังไม่สูงมากนัก แต่หากสถานการณ์แย่ลง เช่น ภัยแล้งรุนแรงต่อเนื่องหรือมีโรคพืชระบาด ราคาน้ำตาลอาจพุ่งถึง 25 เซนต์/ปอนด์ได้ในช่วงปี 2568
🚢 ส่งออกไทย “ขายหมดทุกตัน” – KSL มั่นใจตลาดยังต้องการ
บริษัทน้ำตาลขอนแก่นฯ ระบุว่า ไทยมีโอกาสขยายสัดส่วนตลาดส่งออกน้ำตาลในปีนี้ เพราะน้ำตาลจากบราซิลขาดแคลน และในภูมิภาคเอเชีย ฝนตกดีทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น แนวโน้มไทยสามารถส่งออกได้
มากขึ้นโดยไม่มีปัญหาเรื่องอุปสงค์
แต่การส่งออกจะทำได้ต่อเมื่อปริมาณน้ำตาลภายในประเทศเพียงพอกับความต้องการบริโภคก่อน โดยปัจจุบันราคาน้ำตาลหน้าร้านยังอยู่ในช่วง 24–27 บาท/กิโลกรัม